อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ที่ตั้ง
    ตำบลสะพานไม้แก่นมีเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน ๓๗,๕๕๖ ไร่ คิดเป็น ๖๐.๑๕๕๑ ตารางกิโลเมตร และมีที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่นตั้งอยู่ หมู่ที่ ๖ บ้านเกษมรัตน์ ห่างจากตัวอำเภอจะนะ ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตดังนี้
    ทิศเหนือ              จด ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ
    ทิศใต้                   จด ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ
    ทิศตะวันออก       จด ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา
    ทิศตะวันตก         จด ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ

ลักษณะภูมิประเทศ
    ภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับกับเนินสูง ซึ่งเหมาะแก่การประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ประชาชนอาศัยอยู่ตามที่ราบเชิงภูเขา และมีแหล่งน้ำลำธารหลายสาย เป็นสายสั้นๆ มีน้ำไหลไม่ตลอดปี ในส่วนของดินจะมีลักษณะโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ ๗๕% ดินลูกรังประมาณ ๑๕ % และดินเหนียวประมาณ ๑๐ %

ลักษณะภูมิอากาศ
    ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้
    ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศ ร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ - ๓๙.๙ องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป
    ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม แต่อาจเกิด “ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑-๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเขต ตำบลสะพานไม้แก่นเคยเกิดเหตุอุทกภัยรุนแรงในปี ๒๕๕๓ แต่หลังจากนั้นก็มีแค่เหตุอุทกภัยเล็กน้อย ซึ่งเกิด จากฝนตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้น้ำไหลไม่ทัน แต่จะไม่เกิดน้ำขังในพื้นที่
    ตามประวัติเดิมของตำบลสะพานไม้แก่นที่เล่าสู่กันมาถึงปัจจุบัน มีการสันนิษฐานว่า คําว่า สะพานไม้แก่น มาจากคําที่ใช้เรียกสะพานที่ใช้ข้ามคลองระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งสะพานทำมาจากแก่นไม้ขนาดใหญ่ ผู้คนแถวนั้นจึงเรียกหมู่บ้านแถบนี้โดยใช้คําว่า บ้านสะพานไม้แก่น รวมกับหมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ บ้านสะพานไม้แก่นตก บ้านสะพานไม้แก่นออก บ้านสะพานไม้แก่นกลาง เมื่อมีการก่อตั้งตำบลจึงได้ใช้ชื่อว่า ตำบลสะพาน ไม้แก่น ขึ้นกับอำเภอจะนะมาตั้งแต่สมัยที่เรียกอำเภอจะนะว่า อำเภอบ้านนา โดยในครั้งแรก ตำบลสะพานไม้แก่น ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน ได้แก่
    ๑. บ้านสะพานไม้แก่นออก
    ๒. บ้านสะพานไม้แก่นกลาง
    ๓. บ้านสะพานไม้แก่นตก
    ๔. บ้านเกษมรัตน์
    ๕. บ้านท่าล้อ
    ต่อมาในปี ๒๕๒๐ ตำบลสะพานไม้แก่นได้มีการเพิ่มหมู่บ้านอีก ๒ หมู่บ้าน คือ บ้านทรายขาว ซึ่งแยกตัวออกมาจากบ้านเกษมรัตน์ และบ้านทุ่งเอาะ แยกตัวมาจากบ้านสะพานไม้แก่นตก และในปี ๒๕๓๙ ได้มีการแยกหมู่บ้านอีก ๑ หมู่บ้าน คือ บ้านนาบ้านไร่ แยกตัวมาจากบ้านทรายขาว ในปัจจุบันตำบลสะพาน ไม้แก่น ประกอบด้วย ๘ หมู่บ้าน คือ
    หมู่ที่ ๑ บ้านสะพานไม้แก่นตก
    หมู่ที่ ๒ บ้านทุ่งเอาะ
    หมู่ที่ ๓ บ้านท่าล้อ
    หมู่ที่ ๔ บ้านสะพานไม้แก่นออก
    หมู่ที่ ๕ บ้านทรายขาว
    หมู่ที่ ๖ บ้านเกษมรัตน์
    หมู่ที่ ๗ บ้านสะพานไม้แก่นกลาง
    หมู่ที่ ๘ บ้านนาบ้านไร่
“ ตำบลแปรรูปยางพารา เกษตรชีวภาพ สุขภาพดีทั่วถึง เป็นหนึ่งการศึกษา ประชาอยู่ดี กินดี สามัคคีเป็นเอก”
1
การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
2
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
3
การพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
4
การพัฒนาการเมืองและการบริหาร
5
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
6
การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
7
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
8
การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
9
ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม